เงินช่วยการศึกษาบุตร

“เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร” หมายถึง เงินที่ทางราชการช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาสำหรับบุตรของข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ และลูกจ้างประจำ

“สถานศึกษาของทางราชการ” หมายถึง
        1. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือ ส่วนราชการอื่น หรือที่อยู่ในกำกับของรัฐ
        2. วิทยาลัยหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัยในสังกัดหรืออยู่ในกำกับ ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือส่วนราชการอื่นที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ
        3. โรงเรียนในสังกัด หรืออยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ที่มีกฎหมายจัดตั้ง และให้หมายความรวมถึงโรงเรียนที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีการจัดระดับชั้นเรียนด้วยคู่มือ การปฏิบัติงาน
         4. โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของส่วนราชการอื่น หรือองค์การของรัฐบาลที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ
         5. โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการที่กระทรวงการคลังกำหนด
         6. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีการจัดระดับชั้นเรียนในสังกัดส่วนราชการ

“สถานศึกษาเอกชน” หมายถึง
        1. สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
        2. โรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระบบโรงเรียน และให้รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ

“บุตรของผู้มีสิทธิ” หมายถึง
        1. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุครบ 3 ปีแต่ไม่เกิน 25 ปีทั้งนี้ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม และบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น
        2. บุตรคนที่ 1 ถึงคนที่ 3 โดยนับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่
        3. บุตรที่เกินกว่า 3 คน แต่ในจำนวน 3 คน นั้น ตาย กายพิการ จนไม่สามารถเล่าเรียนได้หรือเป็นคน ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ที่ไม่ได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การศึกษาของบุตร วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ก่อนอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ให้นำบุตรลำดับถัดไป มาแทนที่ได้ให้บุตรนั้นครบจำนวน 3 คน โดยบุตรที่นามาแทนที่นั้นสามารถเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากทางราชการได้จนกว่าจะหมดสิทธิ
        4. กรณีผู้มีสิทธิผู้ใดยังไม่มีบุตร หรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร ยังไม่ครบ 3 คน ต่อมามีบุตรแฝด ทำให้จำนวนบุตรเกิน 3 คน ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับสวัสดิการสำหรับบุตร ตั้งแต่ คนที่ 1 ถึง คนสุดท้าย โดยบุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิ
        5. การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิแยกพิจารณาเป็น 2 กรณีดังนี้
            5.1 กรณีมารดาเป็นผู้มีสิทธิ เด็กที่เกิดจากหญิงผู้เป็นผู้มีสิทธิที่มิได้สมรสกับชายให้ถือว่า เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงผู้มีสิทธินั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1546)
            5.2 กรณีบิดาเป็นผู้มีสิทธิ จะถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา (ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1547) โดย
                    (ก) บิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของบุตร
                    (ข) บิดาได้จดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติ หลักเกณฑ์การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องทำตามแบบ คร. 11 ต่อหน้านายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือ สำนักงานเขตที่จดทะเบียนรับรองบุตรให้ โดยบุตรและมารดาของบุตรต้องให้ความยินยอมด้วยตนเองต่อหน้านายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต หากบุตรหรือมารดาของบุตร คนใดคนหนึ่ง ไม่ได้ไปให้ความยินยอมด้วยตนเองต่อหน้านายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต หรือคัดค้าน หรือไม่ให้ความยินยอมการจดทะเบียนรับรองบุตร จะต้องมีคำพิพากษาของศาล โดยร้องต่อศาลให้มีคำพิพากษาให้บิดาจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรได้และให้บิดานำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เพื่อให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้
                   (ค) มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรของตน

ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการ

1. ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า                                  ปีการศึกษาละไม่เกิน       5,800     บาท

2. ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า                        ปีการศึกษาละไม่เกิน       4,000     บาท

3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า             ปีการศึกษาละไม่เกิน       4,800     บาท

4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/                             ปีการศึกษาละไม่เกิน       4,800     บาท

    หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า   

5. ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า                           ปีการศึกษาละไม่เกิน     13,700      บาท

6. ระดับปริญญาตรี                                                  ปีการศึกษาละไม่เกิน     25,000     บาท

ประเภทและอัตราเงินค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาของเอกชน

   สถานศึกษาของเอกชนประเภทสามัญศึกษา

     1. สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน 

            ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน

            (1) ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า                                                          13,600       บาท

            (2) ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า                                                 13,200       บาท

            (3) ระดับมัธยมศึกษาต้อนต้นหรือเทียบเท่า                                      15,800       บาท

            (4) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า                                  16,200       บาท

     2. สถานศึกษาที่ได้รับเงินอุดหนุน 

            ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน

           (1) ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า                                                              4,800       บาท

           (2) ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า                                                    4,200       บาท

           (3) ระดับมัธยมศึกษาต้อนต้นหรือเทียบเท่า                                         3,300        บาท

           (4) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า                                     3,200       บาท

   สถานศึกษาของเอกชนประเภทอาชีวศึกษา

    1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า

         1.1 สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน

                 ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกินในประเภทวิชาหรือสายวิชา ดังนี้

                 (1) คหกรรมหรือคหกรรมศาสตร์                                                   16,500       บาท

                 (2) พาณิชยกรรมหรือบริหารธุรกิจ                                                19,900       บาท

                 (3) ศิลปหัตถกรรมหรือศิลปกรรม                                                  20,000       บาท

                 (4) เกษตรกรรมหรือเกษตรศาสตร์                                                21,000        บาท

                 (5) ช่างอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรม                                          24,400        บาท

                 (6) ประมง                                                                                      21,100       บาท

                 (7) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว                                                      19,900       บาท

                 (8) อุตสาหกรรมสิ่งทอ                                                                   24,400       บาท

          1.2 สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน

                  ค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกินในประเภทวิชาหรือสายวิชา ดังนี้

                  (1) คหกรรมหรือคหกรรมศาสตร์                                                     3,400       บาท

                  (2) พาณิชยกรรมหรือบริหารธุรกิจ                                                  5,100       บาท

                  (3) ศิลปหัตถกรรมหรือศิลปกรรม                                                    3,600       บาท

                  (4) เกษตรกรรมหรือเกษตรศาสตร์                                                  5,000       บาท

                  (5) ช่างอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรม                                            7,200       บาท

                  (6) ประมง                                                                                        5,000       บาท

                  (7) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว                                                         5,100       บาท

                  (8) อุตสาหกรรมสิ่งทอ                                                                     7,200       บาท

    2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน ในประเภทวิชาหรือสายวิชา ดังนี้

         (1) ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรมเทคโนโลยี                ปีละไม่เกิน    30,000   บาท

               สารสนเทศและการสื่อสาร ทัศนศาสตร์

         (2) พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ ศิลปหัตถกรรม              ปีละไม่เกิน    25,000   บาท

               หรือศิลปกรรม เกษตรกรรม หรือเกษตรศาสตร์

               คหกรรมหรือคหกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

      สำหรับรายละเอียดของสาขาวิชาตามประเภทวิชาหรือสายวิชาของหลักสูตรที่กำหนดดังกล่าวให้เป็นไปตาม             ที่กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้สถานศึกษาเอกชนทำการเปิดสอนในสาขาวิชานั้น ๆ

    3. หลักสูตรระดับปริญญาตรี

ให้เบิกจ่ายได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงของค่าเล่าเรียน      ปีการศึกษาละไม่เกิน      25,000      บาท

ที่มา : หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว 257 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2559 เรื่อง ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน

อัพเดตเมื่อ : 28 ก.พ. 2566