ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

“ยานพาหนะประจำทาง” หมายความว่า รถไฟ รถโดยสารประจำทางตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและเรือกลเดินประจำทางตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย และให้หมายความรวมถึงยานพาหนะอื่นใดที่ให้บริการขนส่งแก่บุคคลทั่วไปเป็นประจำโดยมีเส้นทางอัตราค่าโดยสารและค่าระวางที่แน่นอน

“พาหนะส่วนตัว” หมายความว่า รถยนต์ส่วนบุคคล หรือจักรยานยนต์ส่วนบุคคลซึ่งมิใช่ของทางราชการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เดินทางไปราชการหรือไม่ก็ตาม

          – สิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตั้งแต่วันได้รับอนุมัติเดินทาง

          – ผู้มีอำนาจอนุมัติระยะเวลาเดินทางล่วงหน้า/หลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการตามความจำเป็น

          – ผู้ได้รับอนุมัติให้ลากิจ – พักผ่อน ต้องขออนุมัติระยะเวลาดังกล่าวในการเดินทางด้วย

          – ผู้เดินทางโดยไม่เดินทางกลับหลังจากปฏิบัติราชการเสร็จสิ้น โดยเหตุส่วนตัวให้แจ้งและขออนุมัติระยะเวลาดังกล่าวในการเดินทางด้วย 

   1. ค่าเบี้ยเลี้ยง

บาท/วัน/คน

การนับเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยง

      – ออกจากที่อยู่/ที่ทำงานปกติ จนกลับถึงที่อยู่/ที่ทำงานปกติ

      – พักแรม 24 ชม. นับ 1 วัน เศษเกิน 12 ชม. นับเป็น 1 วัน

      – ไม่พักแรมเกิน 12 ชม. นับ 1 วัน เศษเกิน 6 ชม.นับครึ่งวัน

      – เดินทางล่วงหน้าเนื่องจากลากิจ/พักผ่อน ให้เริ่มนับเบี้ยเลี้ยงได้ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการ

      – ไม่เดินทางกลับหลังจากปฏิบัติราชการเสร็จสิ้นให้นับเบี้ยเลี้ยงได้ถึงสิ้นสุดเวลาปฏิบัติราชการ

   2. ค่าที่พัก แบ่งได้เป็น 2 กรณี

        2.1 เหมาจ่าย

บาท/วัน/คน

        2.2 จ่ายจริง

บาท/วัน/คน

*หมายถึง พัก 2 คน/ห้อง

หมายเหตุ

ห้ามเบิกจ่าย กรณี

– พักในยานพาหนะ

– ทางราชการจัดที่พักให้

ท้องที่ที่มีค่าครองชีพสูง/เป็นแหล่งท่องเที่ยว หน.ส่วนราชการอนุมัติให้เบิกเพิ่มได้ไม่เกิน 25%

หากเดินทางเป็นหมู่คณะต้องเลือกค่าที่พักเหมือนกันทั้งคณะ

   3. ค่าพาหนะ

       3.1 ยานพาหนะประจำทาง

       3.2 ยานพาหนะรับจ้าง

* ระดับปฏิบัติงาน ปฏิบัติการ ให้เบิกค่าแท็กซี่ได้ภายใต้เงื่อนไข ไม่มีรถประจำทางหรือมีเหตุจำเป็นต้องใช้พาหนะรับจ้าง เช่น มีสัมภาระ เดินทางเช้าตรู่ เดินทางยามค่ำคืน ให้ชี้แจงเหตุผลเพื่อขออนุมัติ

* ระดับปฏิบัติงาน ปฏิบัติการ ที่เดินทางโดยเครื่องบินซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ปรากฏในตารางก็ให้เบิกได้เทียบเท่าภาคพื้นดิน แต่หากมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ก็ให้สามารถเดินทางโดยเครื่องบินเบิกได้ชั้นธรรมดา แต่ต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติก่อนการเดินทาง

* กรณีการเบิกค่าเครื่องบินที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้างต้นใดๆ ให้เบิกได้เทียบเท่าภาคพื้นดินในระยะทางเดียวกัน

       3.3 การเช่าเหมายานพาหนะรับจ้าง : เบิกได้ตามที่จ่ายจริง

       3.4 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงยานพาหนะ

              – น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถราชการเบิกได้ตามที่จ่ายจริง

              – น้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะเช่าเหมาเบิกได้ตามที่จ่ายจริง (ต้องดำเนินการตามขั้นตอนระเบียบพัสดุ

        3.5 ค่าผ่านทางพิเศษ : เบิกได้ตามที่จ่ายจริง

ที่มา : 1. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

          2. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.6/ว 24 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 เรื่อง การเบิกจ่ายค่าผ่านทางด่วนพิเศษ

1. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526
2. พระราชกฤษฎีกาค่าช้จายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527
3. พระราชฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528
4. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2529
5. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2534
6. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2541
7. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2548
8. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553
9. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2534
10. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550
11. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
12. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.6/ว24 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 เรื่อง การเบิกจ่ายเงินค่าผ่านทางด่วนพิเศษ
13. หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว42 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2550 เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกค่าพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัด เงินชดเชย และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ

14. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.6/ว 104 ลงวันที่ 22 กันยายน 2551 เรื่อง การเทียบตำแหน่ง

อัพเดตเมื่อ : 28 ก.พ. 2566