ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน

“การฝึกอบรม” หมายถึง

          – การอบรม ประชุม/สัมมนา (วิชาการ/เชิงปฏิบัติการ) การบรรยายพิเศษ ฝึกงาน ดูงาน หรือเรียกชื่ออย่างอื่นทั้งในประเทศ ต่างประเทศ

          – มีโครงการ มีหลักสูตร ช่วงเวลาชัดที่แน่นอน เพื่อพัฒนาบุคคล/เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

          – ไม่มีการรับปริญญา/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ

“การดูงาน” หมายถึง การเพิ่มพูนความรู้ด้วยการ สังเกตการณ์ ซึ่งกำหนดไว้ในโครงการ หรือหลักสูตรการฝึกอบรม หรือกำหนดไว้ในแผน การจัดประชุมระหว่างประเทศ ให้มีการดูงาน ก่อน ระหว่าง หรือหลังการฝึกอบรม หรือการประชุมระหว่างประเทศ

การฝึกอบรม แบ่งเป็น 3 ประเภท

     1. ประเภท ก : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ

          ข้าราชการตำแหน่งประเภท (ระดับสูง)

          ทั่วไป : ทักษะพิเศษ

          วิชาการ : เชี่ยวชาญ ทรงคุณวุฒิ

          อำนวยการ : สูง

          บริหาร : ต้น, สูง

     2. ประเภท ข : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ

          ข้าราชการตำแหน่งประเภท (ระดับต้น/กลาง)

          ทั่วไป : ปฏิบัติงาน, ชำนาญงาน, อาวุโส

          วิชาการ : ปฏิบัติการ, ชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ

          อำนวยการ : ต้น

     3. บุคคลภายนอก : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งมิใช่บุคลากรของรัฐ (จัดได้เฉพาะในประเทศเท่านั้น)

บุคคลที่จะเบิกค่าใช้จ่ายได้

     1. ประธานในพิธีเปิด – ปิด แขกผู้มีเกียรติ และผู้ติดตาม

     2. เจ้าหน้าที่

     3. วิทยากร

     4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

     5. ผู้สังเกตการณ์

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม แบ่งเป็น 2 ส่วน

1. ค่าใช้จ่ายของส่วนราชการที่ฝึกอบรม ประกอบด้วย

    1.1 ค่าอาหาร

         – ฝึกอบรมประเภท ข และบุคคลภายนอก : ผู้เข้ารับการฝึกอบรม/ผู้สังเกตการณ์/เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน ชำนาญงาน อาวุโส ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ อำนวยการระดับต้นให้พัก 2 คน/ห้อง เว้นแต่ เป็นกรณีไม่เหมาะสม/มีเหตุจำเป็นไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ จัดให้พักคนเดียวได้

         – ฝึกอบรมประเภท ก : ผู้เข้ารับการฝึกอบรม/ผู้สังเกตการณ์/เจ้าหน้าที่ ระดับทักษะพิเศษ ชำนาญงานพิเศษ ทรงคุณวุฒิ อำนวยการระดับสูง บริหารระดับต้น บริหารระดับสูง ให้พัก 2 คน/ห้องก็ได้ หรือจัดให้พักห้องคนเดียวก็ได้

          – ประธาน แขกผู้มีเกียรติ ผู้ติดตามและวิทยากร จัดให้พักห้องพักคนเดียวหรือพักคู่ก็ได้     และเบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราค่าเช่าที่พัก

   1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม

บาท/มื้อ/คน

   1.3 ค่าเช่าที่พัก

บาท/วัน/คน

     – ฝึกอบรมประเภท ข และบุคคลภายนอก : ผู้เข้ารับการฝึกอบรม/ผู้สังเกตการณ์/เจ้าหน้าที่ ระดับ ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน อาวุโส ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ อำนวยการระดับต้น ให้พัก 2 คน/ห้อง เว้นแต่ เป็นกรณีไม่เหมาะสม/มีเหตุจำเป็นไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ จัดให้พักคนเดียวได้

     – ฝึกอบรมประเภท ก : ผู้เข้ารับการฝึกอบรม/ผู้สังเกตการณ์/เจ้าหน้าที่ ระดับทักษะพิเศษ ชำนาญงานพิเศษ ทรงคุณวุฒิ อำนวยการระดับสูง บริหารระดับต้น บริหารระดับสูง ให้พัก 2 คน/ห้องก็ได้ หรือจัดให้พักห้องคนเดียวก็ได้

     – ประธาน แขกผู้มีเกียรติ ผู้ติดตามและวิทยากร จัดให้พักห้องพักคนเดียวหรือพักคู่ก็ได้ และเบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราค่าเช่าที่พัก

   1.4 ค่าวิทยากร

       – โดยบรรยาย จ่ายได้ไม่เกิน 1 คน

       – อภิปราย/สัมมนาเป็นคณะ จ่ายได้ไม่เกิน 5 คนรวมผู้ดำเนินรายการ

       – แบ่งกลุ่ม ฝึกปฏิบัติ/อภิปราย/ทำกิจกรรม จ่ายได้ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน

       – วิทยากรเกินกำหนดให้เฉลี่ยจ่าย

การนับเวลาบรรยาย

       – นับตามเวลาที่กำหนดในตารางฝึกอบรม ไม่หักเวลารับประทานอาหารว่าง

       – แต่ละชั่วโมงต้องไม่น้อยกว่า 50 นาทีถ้าไม่ถึง 50 นาทีแต่ไม่น้อยกว่า 25 นาที ให้เบิกค่าสมนาคุณวิทยากรได้กึ่งหนึ่ง

บาท/ชั่วโมง/คน

 1.5 ค่ายานพาหนะ

* ตาม พรฎ.เดินทาง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560 มาตรา 5 ได้กำหนดให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้โดยไม่มีการแบ่งระดับตำแหน่ง โดยผู้เดินทางต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นไว้ในหลักฐานขอเบิกค่าพาหนะนั้น

* ระดับปฏิบัติการ ชำนาญงาน ที่เดินทางโดยเครื่องบินซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ปรากฏในตารางก็ให้เบิกได้เทียบเท่าภาคพื้นดิน แต่หากมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ก็ให้สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้แต่ต้องได้รับอนุมัติก่อนการเดินทาง

* ค่าชดเชยพาหนะเหมาจ่าย เฉพาะกรณีที่ผู้จัดไม่จัดพาหนะหรือไม่รับผิดชอบค่าพาหนะ ซึ่งต้องได้รับอนุมัติให้ใช้ยานพาหนะส่วนตัว คำนวณระยะทางตามเส้นทางกรมทางหลวงในเส้นทางที่สั้นและตรง

* ให้เบิกเฉพาะเที่ยวไป (วันแรก) และเที่ยวกลับ (วันสุดท้าย) เท่านั้น กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นขออนุมัติหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นกรณี ๆ ไป

   6. ค่ากระเป๋า/สิ่งที่ใช้บรรจุเอกสาร ไม่เกินใบละ 200 บาท

   7. ค่าของสมนาคุณในการดูงาน ไม่เกินแห่งละ 1,500 บาท

   8. ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิดการฝึกอบรม

   9. ค่าประกาศนียบัตร

   10. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม

   11. ค่าเช่าอุปกรณ์

   12. ค่าวัสดุเครื่องเขียน อุปกรณ์ กรณีซื้อ/จ้าง/เช่า

   13. ค่าถ่ายเอกสาร พิมพ์เอกสาร สิ่งพิมพ์

   14. ค่าหนังสือ

   15. ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร

   *รายการที่ 8. – 15. เบิกเท่าที่จ่ายจริง กรณีซื้อ/เช่า/จ้าง ต้องดำเนินการพัสดุด้วย

2. ค่าใช้จ่ายของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

      การส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมให้ส่วนราชการต้นสังกัดอนุมัติเฉพาะผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการนั้น ตามจำนวนที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงความจำเป็น และเหมาะสมในการปฏิบัติงาน

      – ค่าลงทะเบียน/ค่าธรรมเนียม/ทำนองเดียวกันเรียกชื่ออย่างอื่นเบิกเท่าที่จ่ายจริง

      – ถ้าค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหาร ที่พัก พาหนะในการฝึกอบรมไว้หมดแล้ว หรือผู้จัดออกให้ทั้งหมดต้องงดเบิก

      – ถ้าค่าลงทะเบียนไม่รวมค่าใช้จ่ายดังกล่าวหรือผู้จัดไม่ออกค่าใช้จ่าย ให้เบิกในส่วนที่ไม่ได้ออกให้จากต้นสังกัด 

       – ค่าพาหนะ ให้เบิกค่าพาหนะได้ตาม พรฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

ที่มา : 1. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549

          2. หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0201.5/16808 ลงวันที่ 30 กันยายน 2562 เรื่อง มาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

1. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549
2. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
3. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555
4. หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0406.4/ว.5 ลงวันที่ 14 มกราคม 2556 เรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2556
5. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/ว 24 ลงวัที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 เรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราจ้างขั้นต่ำ และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

6. หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0201.5/16808 ลงวันที่ 30 กันยายน 2562 เรื่อง มาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

อัพเดตเมื่อ : 28 ก.พ. 2566